กีฬาสำหรับสุนัข เป็นการดึงเอาสัญชาตญาณของสุนัขแต่ละพันธุ์มาใช้ เพื่อให้ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติของสุนัข กีฬาสำหรับสุนัขบางชนิดได้รับการแข่งขันและจดบันทึกเป็นสถิติโลกด้วย อย่างกีฬาที่มักจะได้รับความนิยมเล่นกัน ก็ได้แก่ การแข่งวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง การแข่งกระโดดไกล การแข่งคาบจานร่อน การแข่งไล่ตอนฝูงสัตว์ เป็นต้น

กีฬาสำหรับสุนัข เป็นที่น่าสนใจ

กีฬาสำหรับสุนัข ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย ซึ่งกีฬาสำหรับสุนัขส่วนใหญ่จะประยุกต์มาจากพฤติกรรมและสัญชาตญาณของสุนัข บางอย่างก็จัดให้มีการแข่งขันกันแบบจริงจัง มีการมอบถ้วยรางวัลกันเลยก็มี แถมบางการแข่งขันก็จัดให้มีการบันทึกเอาไว้เป็นสถิติโลกด้วย

กีฬาสำหรับสุนัขเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ผลพลอยได้ที่ตามมาก็จะช่วยลดความเครียด ควบคุมน้ำหนัก และยังช่วยให้การนอนหลับสบายยิ่งขึ้น ซึ่งที่สุดก็จะทำให้สุขภาพทั้งกายและใจแข็งแรง สุนัขแต่ละพันธุ์และช่วงวัยมีความต้องการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนกัน จึงมีเกมส์กีฬามากมายหลายประเภทที่ถูกคิดค้นมาเพื่อสุนัขโดยเฉพาะ โดยนำทักษะต่างๆ ที่สุนัขมีมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับตัวสุนัขเอง เช่น การวิ่ง การกระโดด การคาบ การเดินทางผ่านในที่แคบ การว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งสุนัขจะต้องได้รับการฝึกฝน เพื่อเรียนรู้ที่จะเล่นกีฬาชนิดนั้นๆ ให้เป็น การเล่นกีฬานอกจากจะเป็นการออกกกำลังกายแล้ว ยังเป็นการสนองความต้องการของสุนัขด้วยเช่นกัน

สุดยอดกีฬาสำหรับสุนัข

1. การวิ่งข้ามเครื่องกีดขวาง (Dog Agility)

     เป็นกีฬาสำหรับสุนัขที่ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างสุนัขและเจ้าของ เป็นการให้สุนัขวิ่งข้ามเครื่องกีดขวางชนิดต่างๆ ให้ได้ตามกติกาที่กำหนด ใครผิดพลาดน้อยที่สุดและใช้เวลาเร็วที่สุดจะเป็นผู้ชนะ โดยกีฬาสำหรับสุนัขประเภทนี้มีการแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆ เช่น ประเภทมือใหม่ ประเภททั่วไป หรืออาจจะแบ่งการแข่งขันออกตามขนาดตัวของสุนัข รุ่นเล็ก รุ่นกลาง หรือรุ่นใหญ่ สุนัขที่เข้าแข่งขันจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เพราะต้องใช้ทักษะหลากหลาย เช่น กระโดดข้ามรั้ว วิ่งรอดอุโมงค์ วิ่งซิกแซก วิ่งข้ามไม่กระดก หรือแม้แต่การนั่งบนโต๊ะเพื่อหยุดคอยในระเวลาที่กำหนด ก่อนจะวิ่งไปยังจุดต่อไป กีฬานี้ได้รับการบรรจุให้มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกกันเลยทีเดียว

2. กีฬาวิ่งวิบาก (Dog Agility)

    กีฬาสำหรับสุนัขนี้ใช้ทักษะความคล่องแคล่วว่องไว และไหวพริบปฏิภาณของสุนัขมาใช้เป็นประโยชน์ โดยให้สุนัขวิ่งผ่านเส้นทางที่มีอุปสรรค ซึ่งสุนัขจะต้องได้รับการฝึกฝนมา เพื่อเข้าใจคำสั่ง และเพื่อให้ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ไปได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น วิ่งลอดอุโมงค์ วิ่งข้ามไม้กระดก วิ่งข้ามสะพาน วิ่งผ่านแผงกั้นรูปตัวเอ (A) วิ่งวนซิกแซกรอบเสา วิ่งกระโดดข้ามล้อยางหรือแผงกั้น ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีขนาดได้มาตราฐานและออกแบบมาเพื่อใช้กับสุนัขโดยเฉพาะ มองๆ ไปก็คล้ายกับสนามเด็กเล่นสำหรับสุนัขอะไรทำนองนั้น โดยตั้งอยู่ในสนามที่มีข้อกำหนดให้เป็นพื้นเรียบที่ไม่ทำให้สุนัขเป็นอันตราย มีทั้งแบบสนามในร่มและสนามกลางแจ้ง การเล่นนี้กีฬานี้นอกจากสุนัขจะได้สุขภาพที่แข็งแรงแล้วยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าของด้วย กีฬาสำหรับสุนัขชนิดนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก ซึ่งจะมีกติกา การจัดแบ่งประเภทนักกีฬา รุ่นของสุนัข (แบ่งตามความสูงถึงหัวไหล่) เอาไว้อย่างละเอียด มีการแข่งขันกันอย่างจริงจังทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก

3. การแข่งรับจานร่อน (Dog Frisbee , Dog Flying Disc)

การแข่งรับจานร่อนมีชื่อเรียกหลายชื่อ บางครั้งก็เรียกว่า frisbee ซึ่ง Walter Frederick Morrison ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดค้นขึ้นลักษณะคล้ายๆ UFO และจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อว่า Frisbee มาตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ยุคแรกๆ ก็นิยมเล่นกันตามชายหาด โดยเป็นการโยนไปมาระหว่างคนสองคน ต่อมามีการประยุกต์เป็นกีฬาสำหรับสุนัขเริ่มมีการแข่งขันเป็นทีม จนในที่สุดก็มีการนำมาฝึกเล่นกันสุนัข และสุดท้ายก็กลายเป็นกีฬาสำหรับสุนัขที่นิยมเล่นระหว่างคนกับสุนัข โดยการแข่งขันรับจานร่อน มีทั้งประเภทฟรีสไตล์ รับให้ได้ในโซนระยะที่กำหนด รับจำนวนมากที่สุด และความผิดพลาดน้อยที่สุด รวมถึงตัดสินจากลีลาการรับจานร่อนด้วย ซึ่งการแข่งขันกีฬาสำหรับสุนัขนี้เป็นที่นิยมในผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์  Australian Shepherds และพันธุ์ Border Collies

4. การแข่งกระโดดไกล (Dock Jumping, Dock Diving)

     การแข่งขันกีฬาสำหรับสุนัขนี้เป็นการวิ่งกระโดดไกล โดยส่วนใหญ่จะกระโดดลงน้ำ ดังนั้นนอกจากจะกระโดดเก่งแล้ว ยังต้องว่ายน้ำเก่งด้วย ดังนั้นสุนัขที่เหมาะกับการแข่งขันกีฬาชนิดนี้จะต้องเป็นพันธุ์ที่ว่ายน้ำเก่ง ชอบเล่นน้ำ และมีพลังงานล้นเหลือ โดยการแข่งขึ้นจะเริ่มจากเจ้าของขว้างสิ่งของออกไป ซึ่งอาจจะเป็นลูกบอล ตุ๊กตา หรือจานร่อน เพื่อหลอกล่อให้สุนัขวิ่งแล้วกระโดดออกไปให้ไกลที่สุด โดยเริ่มวัดระยะจากขอบสระไปถึงจุดที่สนุัขกระโดดลงสัมผัสพื้นน้ำ ซึ่งสุนัขตัวไหนกระโดดได้ไกลกว่าก็จะถือเป็นผู้ชนะ แต่ก็มีการแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง ที่เป็นการแข่งขันกระโดดสูงอาจจะกระโดดลงน้ำหรือกระโดดลงพื้นก็ได้เช่นกัน

5. การแข่งวิ่งไล่เหยื่อ (Dog Hunting, Dog Lure Coursing) 

    กีฬาสำหรับสุนัขประเภทนี้เป็นการดึงเอาสัญชาตญาณของสุนัขมาใช้ เพราะสุนัขบางพันธุ์ถูกเพาะขึ้นเพื่อวัตถุประสงในการช่วยล่าเหยื่อจับสัตว์ขนาดเล็กในอดีต โดยในการแข่งขันจะใช้เหยื่อปลอมเป็นตัวล่อ ให้สุนัขสองตัวแข่งกันไล่จับเหยื่อ โดยนอกจากทักษะในการแข่งที่รวดเร็วแล้ว การสะกดรอย และความแม่นยำในการจับเหยื่อก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก กีฬาสำหรับสุนัขชนิดนี้ทำให้สุนัขได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติอีกด้วย โดยสุนัขที่นิยมนำมาแข่งกีฬาชนิดนี้ก็ คือ  Greyhounds และ Whippets รวมถึงสุนัขกลุ่มฮาวด์อื่นๆ ด้วย

6. การแข่งต้อนฝูงสัตว์ (Herding Trials)

     ในประเทศที่มีการเลี้ยงฝูงปศุสัตว์ขนาดใหญ่ จะมีการใช้สุนัขในการดูแลฝูงสัตว์และช่วยไล่ต้อนฝูงสัตว์ แน่นอนว่าจะมีสุนัขบางพันธุ์ที่ถูกเพาะมาเพื่อใช้ในงานเช่นนี้โดยเฉพาะ และทักษะนี้ก็กลายเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่มีติดตัวอยู่ แต่ก็จำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนด้วยเช่นกัน สุนัขจะใช้สายตาในการควบคุมฝูงสัตว์ ให้ไปในทิศทางที่กำหนด สุนัขหลายๆ ตัวอาจมีชีวิตอยู่ในเมือง แต่ก็มีสัญชาตญาณเหล่านี้แฝงอยู่ พอถูกกระตุ้นให้ต้องนำออกมาใช้ ก็สามารถแสดงออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว และสามารถตอนฝูงสัตว์ได้อย่างราวกับมีเวทมนต์สะกด

7. กีฬากระโดดไกลลงน้ำ (Dog Jumping หรือ Dock Diving)

    กีฬาสำหรับสุนัขชนิดนี้เหมาะสำหรับสุนัขที่ชอบเล่นน้ำหรือว่ายน้ำได้ เช่น พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์  ลาบลาดอร์ รีทรีฟเวอร์ นิวฟาวแลนด์ บางแก้ว เป็นต้น เพราะต้องมีการกระโดดลงน้ำ แต่แม้จะว่ายน้ำได้โดยธรรมชาติก็จะต้องได้รับการฝึกฝนเสียก่อน กีฬาสำหรับสุนัขประเภทกระโดดไกลลงน้ำก็มีกติกาง่ายๆ เลย คือ ถ้าสุนัขตัวไหนกระโดดได้ไกลที่สุดจะถือเป็นผู้ชนะ ซึ่งก็คล้ายกับกีฬากระโดดไกลของคนเรา แต่ว่าเปลี่ยนเป็นกระโดดลงน้ำแทน โดยที่สระว่ายน้ำก็จะมีระยะแสดงความไกลที่สุนัขสามารถกระโดดได้ โดยมีเจ้าของถือของเล่นที่สุนัขชื่นชอบเป็นของล่อให้น้องมาวิ่งมาริมขอบสระ แล้วโยนออกไปเพื่อให้สุนัขกระโดดลงไปคาบในน้ำ ซึ่งนอกจากประเภทกระโดดไกลแล้ว ยังมีประเภทกระโดดสูงลงน้ำด้วย โดยจะมีของเล่นห้อยไว้ตามระดับความสูงที่กำหนด แล้วถ้าสุนัขตัวไหนสามารถกระโดดไปคาบได้สูงที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะเช่นกัน ดูๆ ไปแล้วกีฬาชนิดนี้ก็เหมาะกับเมืองร้อนอย่างประเทศไทยดีเหมือนกัน

8. กีฬาวิ่งแข่งคาบลูกบอล (Flyball)

     เชื่อว่าสุนัขหลายๆ ตัวคงคุ้นชินกับการเล่นกีฬานี้กันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการที่เจ้าของขว้างลูกบอลออกไปไกลๆ แล้วให้สุนัขวิ่งไปคาบมา หากแต่ในการแข่งขันกีฬาสำหรับสุนัขนั้น จะมีกติกาที่ถูกกำหนดขึ้น โดยการให้สุนัขแข่งกันวิ่ง เพื่อไปคาบลูกบอลที่จะถูกปล่อยออกจากเครื่องปล่อยลูกบอล แล้วให้วิ่งคาบนำลูกบอลนั้นกลับมายังจุดตั้งต้น โดยเป็นการวิ่งผลัดกันของสุนัขในทีมที่มีทั้งสิ้น 4 ตัว โดยในแต่ละทีมก็จะมีลู่วิ่งเป็นของตัวเอง โดยในลู่วิ่งนั้นก็จะมีเครื่องกีดขวางสำหรับในสุนัขได้กระโดดข้าม ซึ่งกีฬานี้ถูกคิดค้นจากรัฐแคลิฟอเนียร์ ประเทศสหรัฐอเมริการาว ๆ ปลายยุคทศวรรษที่ 1960 ปัจจุบันมีสมาคม North American Flyball Association (NAFA) เป็นผู้ดูแลและกำหนดมาตรฐานของกีฬาชนิดนี้ ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชียแล้ว

กีฬาสำหรับสุนัข

เหตุผลที่คุณควรพาสุนัขไปออกกำลังกาย

การออกกำลังกายของสุนัขต้องพิจารณา อายุ สายพันธุ์ ขนาด และสุขภาพโดยรวมของสุนัขเป็นหลัก สุนัขควรจะใช้เวลาระหว่าง 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงในการทำกิจกรรมทุกวัน สุนัขสายพันธุ์ล่าสัตว์ สุนัขสายพันธุ์ทำงาน หรือสุนัขสายพันธุ์ต้อนสัตว์ (เช่น ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, ฮาวด์, คอลลี่ และเชพเพิร์ด) ต้องการการออกกำลังกายมากที่สุด ถ้าสุนัขเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ดังกล่าว และมีสุขภาพแข็งแรงดี สมควรที่จะต้องได้รับการออกกำลังกายอย่างเข้มงวดอย่างน้อย 30 นาที ตามด้วยการออกกำลังกายประจำวันอีก 1-2 ชั่วโมงด้วยการเดินในทางลาดชัน วิ่งลู่วิ่ง หรือขี่จักรยานกับเจ้าของ การออกกำลังกายในลักษณะนี้สุนัขจะได้รับการเผาผลาญพลังงานเต็มที่ มีความสุขเพราะร่างกายหลั่งสารอดรีนารีน ทำให้อยากอาหาร แต่ควรระวังการบาดเจ็บเรื่องข้อสะโพก จากแรงกระแทก ไม่ควรวิ่งบนพื้นที่แข็งมากเกินไป

สุนัขทุกตัวต้องออกกำลังกายจริงไหม

ความต้องการการออกกำลังกายไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อสุนัขทุกสายพันธุ์ เพราะสุนัขส่วนมากจะเป็นสายพันธุ์ผสม ความต้องการก็จะต้องต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่สืบทอดมา ถ้าสุนัขของคุณเป็นสายพันธุ์จมูกสั้น เช่น บูลด็อก สายพันธุ์นี้ก็จะไม่ต้องการการออกกำลังกายอะไรมากมายทุกวัน แค่การเดินเล่นรอบๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่ควรเดินในแบบที่เจ้าของเป็นผู้นำ อย่าให้สุนัขลากคุณ หรือสนใจในสัญญาณต่างๆ ควรเรียนรู้ภาษากายที่สุนัขคุณสื่อออกมา ถ้าสุนัขพักผ่อนน้อยหรือเดินไปเดินมาเรื่อยเปื่อย บางทีสุนัขอาจจะไม่อยากเดินเล่นนานๆ ก็เป็นได้ แต่ถ้าสุนัขตั้งใจที่จะนอนเกลือกกลิ้งไปมา บางทีอาจจะไม่ต้องพยายามพาสุนัขไปออกกำลังกายก็เป็นได้ เดินช่วงสั้นๆ อาจจะเพียงพอแล้วสำหรับวันนั้น

เคล็ดลับก่อนการเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย

ถ้ามีข้อสงสัยว่าสุนัขสามารถจะเดินเล่นยาวๆ ได้หรือไม่ หรือควรจะวางแผนการออกกำลังกายให้สุนัขก่อน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ หรือควรเริ่มจากกิจกรรมเบาๆก่อน เพราะอาจจะประสบปัญหาใหญ่ตามมาก็เป็นได้ ค่อยๆ เริ่มอย่างช้าๆ ถ้าสุนัขยังไม่ถูกทำให้เคยชินกับการออกกำลังกายอย่างจริงจัง สังเกตดูอาการหลังออกกำลังกายแล้วค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้น หรือเดินให้ไกลมากขึ้นตามลำดับ สุนัขจะแข็งแรงมากขึ้น การออกกำลังของสุนัขควรเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สม่ำเสมอ เหนื่อยอย่างมีความสุข ไม่ใช่เหนื่อยอย่างหมดแรง

ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายกับสุนัข ต้องแน่ใจว่าได้พาสุนัขไปหาสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพของสุนัขของคุณเสียก่อน สัตวแพทย์จะได้แนะนำและช่วยวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุ สายพันธุ์ และสภาวะทางร่างกายของสุนัข เริ่มต้นอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ ยืดระยะเวลาให้ยาวนานมากขึ้น หรือเพิ่มกิจกรรมการเล่นเข้าไปเมื่อเห็นเหมาะสม นอกจากนี้ อย่าลืมว่าจะต้องเผื่อระยะการอบอุ่นร่างกายและทำให้ร่างกายเย็นลงหลังออกกำลังกายเสร็จแล้ว การเดินเล่นไปที่สวนหรือรอบๆ หมู่บ้านก่อนการออกกำลังกายก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการอุ่นเครื่องกล้ามเนื้อ และเตรียมร่างกายก่อนการเล่นโยนอุปกรณ์อย่างจริงจัง

พึงระวังว่า การออกกำลังกายด้วยการโยนอุปกรณ์เล่น เช่นลูกบอก ลูกบาส อาจทำให้สุนัขของคุณสนุก มีความสุข แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือสุนัขจะชอบการเอาชนะ มันส์ในอารมณ์ ชอบความรุนแรง ไม่มีสมาธิ และไม่นิ่งในด้านพฤติกรรม ดังนั้นทุกกิจกรรมมีข้อดี และข้อเสีย

จะว่าไปกีฬาสำหรับสุนัขส่วนใหญ่ก็เป็นการดึงทักษะความสามารถที่มีอยู่ในตัวของสุนัขมาใช้ เพื่อให้เขาได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติ ได้ผ่อนคลาย แถมยังได้ออกกำลังกายด้วย ผลพลอยได้ก็คือสุภาพดี ๆ ที่จะตามมา อีกทั้งยังได้เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขกับเจ้าของจากการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันด้วย  แต่ต้องขอเตือนไว้สักนิดว่าการจะให้สุนัขทำกิจกรรมหรือแข่งขันอะไรนั้น ทางที่ดีควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน เพราะสุนัขแต่ละตัวก็มีปัญหาสุขภาพและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ที่มาของบทความ

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  francomurer.com
สนับสนุนโดย  ufabet369