สมุนไพรลดความดันโลหิตสูงที่นิยมกันในปัจจุบัน มีทั้งพืชที่ยืนยันแล้วว่ามีตัวยาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงได้จริง และบางชนิดกำลังวิจัยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีสมุนไพรใกล้ตัวเหล่านี้ หากรับประทานในระดับที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยได้
10 สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง อยู่ใกล้ตัวนี่เอง
- กระเทียม
กระเทียม ที่จำหน่ายทั่วไปในตลาด มีทั้งกระเทียมจีนหัวใหญ่ และกระเทียมหัวเล็ก กระเทียมหัวเล็กจะมีสาร Allicin และ Ajoene ที่มีส่วนช่วยลดไขมันในหลอดเลือด ยกเว้นผู้ป่วยที่ใช้ยาลดอาการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรรับประทานกระเทียมมาก ให้ระมัดระวังมากขึ้น ปริมาณกระเทียมในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยาลดการแข็งตัวของเลือด แนะนำกระเทียมสด 5 กรัม (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อวัน
- โกโก้
แม้ว่ายังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าโกโก้มีฤทธิ์รักษาความดันโลหิตสูงในระยะยาว แต่โกโก้มีสารที่ชื่อว่า Flavonoid ส่งผลต่อระดับความดันโลหิตในระยะสั้น มีข้อควรระวังในการใช้โกโก้กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงว่ามีผลข้างเคียง เช่น กระวนกระวายใจ ปัสสาวะบ่อย ใจสั่น และไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
- กะเพรา
กะเพรา เป็นพืชผักสมุนไพรที่มีคุณค่าทางอาหารหลายชนิด ได้แก่ วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก เหมาะกับการนำมาประกอบอาหาร แต่ไม่เหมาะกินสดๆ เพราะมีสาร Estragole อันตรายต่อตับ
- กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้รับประทานเพื่อขับปัสสาวะ ใช้ดอกกระเจี๊ยบแดงต้มเป็นน้ำดื่ม ลดความดันโลหิต มีข้อควรระวังในผู้ป่วยโรคไต
- ตะไคร้
ตะไคร้ มีฤทธิ์ขับลม เชื่อว่าลดความดันโลหิตได้ กลิ่นของตะไคร้ช่วยให้ผ่อนคลาย หรือนำมาใช้ต้มน้ำตะไคร้กินช่วยขับลมได้
- ขิง
ขิง เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ใช้ฝานต้มรับประทานเป็นน้ำขิง มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับการรับประทานกระเทียม
- ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ลดความดัน ต้านการอักเสบ ลดบวม แนะนำให้รับประทาน 4 ต้นต่อวัน
- ใบบัวบก
ใบบัวบก เป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น บำรุงหลอดเลือด ลดอาการอักเสบ และบำรุงการไหลเวียนโลหิต วิธีรับประทานใช้ใบคั้นสดเป็นน้ำดื่ม หรือใช้รับประทาน 4-5 ใบต่อมื้ออาหาร
- มะรุม
ใบมะรุม และราก ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยต้านอาการอักเสบ และต้านมะเร็ง โดยนำใบและรากมาตำ บีบคั้นน้ำรับประทานผสมน้ำผึ้ง ทานวันละ 2 ครั้ง ช่วยลดความดันโลหิต แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- อบเชย
อบเชย มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ โดยใช้อบเชยเป็นแท่งมาบด ชงกับน้ำร้อนปริมาณ 1 แก้วกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่เป็นไข้ตัวร้อน
การใช้สมุนไพรในโรคความดันโลหิตสูงนั้น ไม่สามารถทดแทนการรักษาจากแพทย์ได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ และรับยาที่รักษาตรงกับลักษณะโรคและร่างกายของคุณ
ข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/
ติดตามอ่านต่อได้ที่ francomurer.com